วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2558



บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
วัน อังคารที่ 10 เดือน มีนาคม  พ.ศ. 2558
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิน

ความรู้ที่ได้รับ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
      2. ทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
-เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
-ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
-ถามหาสิ่งต่างๆไหม
-บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
-ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
-การพูดตกหล่น
-การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
-ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
-ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
-ห้ามบอกเด็กว่า  พูดช้าๆ   ตามสบาย   คิดก่อนพูด
-อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
-อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
-ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
-เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
-ทักษะการรับรู้ภาษา
-การแสดงออกทางภาษา
-การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา
-ตอบสนองของเสียงครูโดยการหันมามอง
-ตอบสนองกับคำพูด
พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก
-ทำเสียงต่างๆผสมปนเปกัน
-ทำเสียงคล้ายพูดหรือเรียกร้องความสนใจ
-เล่าได้ว่าเกิดอะไรขึ้น
-ตั้งคำถาม ว่า ทำไม
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
-การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
-ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
-ให้เวลาเด็กได้พูด
-คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
-เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
-เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
-ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
-กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
-เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
-ใช้คำถามปลายเปิด
-เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
-ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

ผลิบานผ่านมือครู ตอนจังหวะกายจังหวะชีวิต


ความรู้จากการดูวีดีโอ จังหวะกาย จังหวะชีวิต
-เป็นการฝึกสมดุลให้กับร่างกาย
-เด็กที่มีพัฒนาการช้ากว่าเพื่อนกิจกรรมนี้จะช่วยเร้าอารมให้เด็กสนใจ
-เด็กไม่ค่อยเข้าสังคม แต่การนำดนตรีเข้ามา เด็กจะรู้จักการรอคอยและเล่นร่วมกับผู้อื่น
-เสียงดนตรี สามารถเติมเต็มในด้านสายตา เช่น โยนรับ ส่ง ลูกบอลประกอบเพลง
-แรกๆจะเป็นการให้สัญญาณและจังหวะดนตรี พอนานไปเด็กจำจังหวะดนตรีได้ก็จะนำเอาบทเพลงมาร้องร่วมกับกิจกรรม
-การนำบทกลอน สามารถมาร่วมกิจกรรมต่างๆได้ ส่งเสริมด้านสมาธิของเด็ก
-จัดกิจกรรมให้เด็กโดยมีเงื่อนไข และอุปกรณ์ต่างๆที่หลากหลาย พอเด็กทำได้ ครูอาจให้เด็กทำซ้ำบ่อยๆ
-การจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ครูอาจกำหนดตัวละครมา แล้วให้เด็ก สมมติตนเองว่าเป็นตัวละครนั้นๆตามจินตนาการ
-ใส่ใจในกิจกรรมและฝึกฝนบ่อยๆ เมื่อเด็กทำได้จะเกิดความภาคภูมิใจ
-กิจกรรมนี้ช่วยได้หลายด้าน ทั้ง อารมณ์ สังคม ร่างกาย สติปัญญา



กิจกรรมบำบัดวันนี้




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-ห้องเรียนที่ส่งเสริมภาษา ห้องนั้นจะต้องมีคำศัพท์เยอะๆ มีตัวหนังสือเยอะ มีกลอนมีเพลงติดไว้ในห้องเรียน
-ครูที่สอนเด็ก อย่าไปจ้ำจี้เด็ก ครูต้องทำตัวปกติ และทำเหมือนเด็กคนนั้นเป็นเด็กปกติ
-ครูจะต้องชี้แนะเด็ก ถ้าเด็กไม่รู้
-ถ้าเด็กทำอะไรอยู่ แล้วเด็กทำไม่ได้ ครูต้องการช่วยเหลือเด็ก โดยให้เด็กขอความช่วยเหลือ บอก หรือพูดออกมา แต่เด็กไม่พูด  แนวทางช่วยเหลือเด็กคือ ครูต้องพูดกับเด็ก ถามว่าทำอะไร เพื่อให้เด็กบอกสิ่งที่เด็กทำอยู่ ครูถามเรื่อยๆจนเด็กพูด ถามซ้ำๆ ย้ำๆ จนเด็กพูดอออกมา ถ้าเด็กไม่พูด ครูก็บอกสิ่งที่เด็กทำอยู่ การทำซ้ำ ย้ำบ่อยๆสักวันเด็กจะมีพัฒนาการดีขึ้น

การประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง
-เข้าเรียนสายนิดหน่อยคะ แต่รู้สึกแปลกๆและตกใจ เปิดห้องมาเจอเพื่อเซคอื่น วันนี้ครูให้ทำกิจกรรมอีกแล้วตลกดีคะ วันนี้เรียนสนุกนะคะ วันนี้ตั้งใจเรียนคะ แต่งกายก็เรียบร้อย วันนี้ร้องเพลง รู้สึกว่าตัวเองร้องเพี้ยนนิดหน่อยคะ
ประเมินเพื่อน
-เซคอื่นเข้าเรียนอย่างพร้อมเพรียงมา มีมาสายคนหนึ่ง แต่เพื่อนก็ตั้งใจเรียนคะ รู้สึกว่าเพื่อนๆสนุกสนาน  เพื่อนอีกเซคพูดเก่งมาก และเพื่อนๆตั้งใจทำกิจกรรมบำบัดได้เป็นอย่างดีคะ
ประเมินครูผู้สอน
-อาจารย์สอนสนุกดีคะ มีกิจกรรมมาให้ทำตลอด ทั้งกิจกรรมก่อนเรียน กิจกรรมหลังเรียน และกิจกรรมบำบัด แต่ให้เด็กมาเรียนรวมกันเยอะ หนูว่าไม่ค่อยดีเท่าไหร่คะ เพื่อนบางคนไม่ตั้งใจเรียน พูดกัน เพื่อนที่ตั้งใจเรียนก็ไม่มีสมาธิ และเวลาสอนเด็กเยอะ ไม่ค่อยสนใจเด็กบางคน เหมือนดูแลได้ไม่ทั่วถึงคะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น