วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558






บันทึกอนุทินครั้งที่ 11
วัน อังคารที่ 24 เดือน มีนาคม  พ.ศ. 2558
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิน
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้สอบเก็บคะแนน

การประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงต่อเวลา วันนี้สอบ ตื่นเต้นนิดหน่อย กลัวสอบไม่ได้ กลัวข้อสอบที่ออกมายากเกินไป แต่พอได้ทำ ชีสที่เตรียมมาไม่ได้ดูเลย ไม่หันมองเพื่อนหรือถามเพื่อน ตั้งใจทำข้อสอบ คำตอบที่ตอบไป ออกมาจากความคิดหมดเลย ในชีสไม่มีเลยคะ แต่ออกแบบนี้ดีนะคะ เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และเป็นการแก้ปัญหาต่างๆในชั้นเรียนเมื่อเราอยู่ในห้องเรียนจริงๆ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจทำข้อสอบกันมากเลยคะ  ไม่ค่อยวอกแวกเท่าไหร่มีสมาธิในการทำข้อสอบกันทุกคน  เพื่อนๆบางคนก็ดูชีส บางคนไม่ดูชีส ขอให้ทุกคนสอบผ่านและได้คะแนนเยอะๆนะคะ
ประเมินครูผู้สอน
ครูผู้สอนใจดีมากเลยคะ ก่อนสอบครูบอกว่าให้ดูชีสที่เคยเรียนได้ แต่ห้ามวอกแวกดูเพื่อนข้างๆ และไม่เปิดอินเตอร์เน็ตดู  แต่ข้อสอบที่ออกมานั้นไม่มีในชีสเลยคะ ข้อสอบครูคิดออกมาเองคะ


วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2558



บันทึกอนุทินครั้งที่ 10
วัน อังคารที่ 17 เดือน มีนาคม  พ.ศ. 2558
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิน
ความรู้ที่ได้รับ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
การกินอยู่
การเข้าห้องน้ำ
การแต่งตัว
กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
-เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
-อยากทำงานตามความสามารถ
-เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
-การได้ทำด้วยตนเอง
-เชื่อมั่นในตนเอง
-เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
-ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
-ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
-ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
-“ หนูทำช้า   หนูยังทำไม่ได้
จะช่วยเมื่อไหร่
-เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
-หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
-เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ตัวอย่าง ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)
การแต่งตัว
- ถอดเสื้อออกได้
- เปลี่ยนเสื้อได้
- อาจเลิกทำได้ง่ายๆ
-ต้องการคนช่วยเหลือแต่ก็ร่วมมือดี
การกินอาหาร
- ใช้ช้อนส้อมได้
- แต่ชอบใช้มือและช้อนมากกว่า
- ป้อนอาหารที่ชอบได้เอง
-ดื่มน้ำจากแก้วได้
การอาบน้ำและการเข้าห้องน้ำ
-บอกว่าจะเข้าห้องน้ำได้โดยไม่ทำเลอะก่อน
- กลั้นปัสสาวะ อุจจาระได้
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
-แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
-เรียงลำดับตามขั้นตอน

การเข้าส้วม
-เข้าไปในห้องส้วม
-ดึงกางเกงลงมา
-ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
-ปัสสาวะหรืออุจจาระ
-ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
-ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
-กดชักโครกหรือตักน้ำราด
-ดึงกางเกงขึ้น
-ล้างมือ
-เช็ดมือ
-เดินออกจากห้องส้วม
การวางแผนทีละขั้น
-แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด
สรุป
-ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
-ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
-ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
-ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
-เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ

กิจกรรมในห้องเรียน
  


ต้นไม้แห่งชีวิต
  





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-ส่งเสริมให้เด็กช่วยเหลือตนเองให้ได้ และเด็กจะมีอิสระในการใช่ชีวิตและในการตัดสินใจต่างๆ
-ไม่แสดงความรำคาญเด็ก เมื่อเด็กช่วยเหลือตนเองไม่ได้
-เมื่อเด็กมาขอให้ช่วยอะไร ก็ช่วยเด็กแค่นั้น เท่านั้น อย่าช่วยมากเกินไป หรือเกินกว่าที่เด็กขอ
-ครูต้องย่อยงานเป็น ย่อยตามลำดับขั้นตอน และย่อยให้ได้เยอะที่สุด
-การย่อยงานทำได้ 2 วิธี คือ
     -ย่อยงานจากขั้นแรก  เด็กจะเรียนรู้กระบวนการทำงานตามลำดับต่างๆ
     -ย่อยงานย้อนจากข้างหลัง  เด็กจะเรียนรู้ทีละขั้นจากด้านหลัง และเด็กจะภูมิใจเมื่อทำอไรสำเร็จ

การประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจฟังครูสอนเป็นอย่าง มีบางครั้งที่หันไปสนใจคำพูดของเพื่อนและคุยกับเพื่อน จดบันทึกการเรียนและคำแนะนำที่ครูบอกได้ดี และจะนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ วันนี้รู้สึกตลกกับคำตอบตนเองในกิจกรรมก่อนเรียนแต่สนุกดี ครูชอบหาอะไรมาให้ทำบ่อยๆ และมีกิจกรรมหลังเรียน กิจกกรมนี้น่าสนใจมาก การระบายสีเพื่อบอกความเป็นตัวตนเองของเด็ก พอครูเดินมาทาย ตรงมากเลยคะ เรียกได้ว่า หมอเบียร์ฟันธง.....
ประเมินเพื่อน
เข้าเรียนตรงต่อเป็นบางคน แต่งกายสุภาพเรียบร้อยกันทุกคน ตั้งใจฟังและจดบันทึกความรู้ที่ครูสอนได้เป็นอย่างดี สำหรับกิจกรรมก่อนเรียนวันนี้ เพื่อนๆสนุกสานเฮฮากับกิจกรรมก่อนเรียนมาก เรียกเสียเฮฮาได้ และกิจกกรมหลังเรียน เพื่อนๆตั้งใจกันระบายผลงานของตนเองมาก มากกว่าตั้งใจเรียนอีก555 (ล้อเล่นนะ)
ประเมินครูผู้สอน

เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกาสุภาพเรียบร้อย นำกิจกรรมมาให้เด็กได้ทำกันตลอด วันนี้ครูสอนเกี่ยวกับทักษะต่างๆของเด็ก ครูเป็นคนที่เข้าใจในตัวเด็ก เป็นคนน่ารักอ่อนโยน เวลาที่ครูสอน ครูใช้ถ้อยคำที่สุภาพ พูดเพราะอ่อนหวานเวลาครูยกตัวอย่าง เข้าใจได้ดีมาก ชอบเวลาที่ครูยกตัวอย่าง เพราะมันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงได้เป็นอย่างดี



วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2558



บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
วัน อังคารที่ 10 เดือน มีนาคม  พ.ศ. 2558
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิน

ความรู้ที่ได้รับ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
      2. ทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
-เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
-ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
-ถามหาสิ่งต่างๆไหม
-บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
-ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
-การพูดตกหล่น
-การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
-ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
-ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
-ห้ามบอกเด็กว่า  พูดช้าๆ   ตามสบาย   คิดก่อนพูด
-อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
-อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
-ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
-เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
-ทักษะการรับรู้ภาษา
-การแสดงออกทางภาษา
-การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา
-ตอบสนองของเสียงครูโดยการหันมามอง
-ตอบสนองกับคำพูด
พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก
-ทำเสียงต่างๆผสมปนเปกัน
-ทำเสียงคล้ายพูดหรือเรียกร้องความสนใจ
-เล่าได้ว่าเกิดอะไรขึ้น
-ตั้งคำถาม ว่า ทำไม
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
-การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
-ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
-ให้เวลาเด็กได้พูด
-คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
-เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
-เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
-ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
-กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
-เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
-ใช้คำถามปลายเปิด
-เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
-ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

ผลิบานผ่านมือครู ตอนจังหวะกายจังหวะชีวิต


ความรู้จากการดูวีดีโอ จังหวะกาย จังหวะชีวิต
-เป็นการฝึกสมดุลให้กับร่างกาย
-เด็กที่มีพัฒนาการช้ากว่าเพื่อนกิจกรรมนี้จะช่วยเร้าอารมให้เด็กสนใจ
-เด็กไม่ค่อยเข้าสังคม แต่การนำดนตรีเข้ามา เด็กจะรู้จักการรอคอยและเล่นร่วมกับผู้อื่น
-เสียงดนตรี สามารถเติมเต็มในด้านสายตา เช่น โยนรับ ส่ง ลูกบอลประกอบเพลง
-แรกๆจะเป็นการให้สัญญาณและจังหวะดนตรี พอนานไปเด็กจำจังหวะดนตรีได้ก็จะนำเอาบทเพลงมาร้องร่วมกับกิจกรรม
-การนำบทกลอน สามารถมาร่วมกิจกรรมต่างๆได้ ส่งเสริมด้านสมาธิของเด็ก
-จัดกิจกรรมให้เด็กโดยมีเงื่อนไข และอุปกรณ์ต่างๆที่หลากหลาย พอเด็กทำได้ ครูอาจให้เด็กทำซ้ำบ่อยๆ
-การจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ครูอาจกำหนดตัวละครมา แล้วให้เด็ก สมมติตนเองว่าเป็นตัวละครนั้นๆตามจินตนาการ
-ใส่ใจในกิจกรรมและฝึกฝนบ่อยๆ เมื่อเด็กทำได้จะเกิดความภาคภูมิใจ
-กิจกรรมนี้ช่วยได้หลายด้าน ทั้ง อารมณ์ สังคม ร่างกาย สติปัญญา



กิจกรรมบำบัดวันนี้




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-ห้องเรียนที่ส่งเสริมภาษา ห้องนั้นจะต้องมีคำศัพท์เยอะๆ มีตัวหนังสือเยอะ มีกลอนมีเพลงติดไว้ในห้องเรียน
-ครูที่สอนเด็ก อย่าไปจ้ำจี้เด็ก ครูต้องทำตัวปกติ และทำเหมือนเด็กคนนั้นเป็นเด็กปกติ
-ครูจะต้องชี้แนะเด็ก ถ้าเด็กไม่รู้
-ถ้าเด็กทำอะไรอยู่ แล้วเด็กทำไม่ได้ ครูต้องการช่วยเหลือเด็ก โดยให้เด็กขอความช่วยเหลือ บอก หรือพูดออกมา แต่เด็กไม่พูด  แนวทางช่วยเหลือเด็กคือ ครูต้องพูดกับเด็ก ถามว่าทำอะไร เพื่อให้เด็กบอกสิ่งที่เด็กทำอยู่ ครูถามเรื่อยๆจนเด็กพูด ถามซ้ำๆ ย้ำๆ จนเด็กพูดอออกมา ถ้าเด็กไม่พูด ครูก็บอกสิ่งที่เด็กทำอยู่ การทำซ้ำ ย้ำบ่อยๆสักวันเด็กจะมีพัฒนาการดีขึ้น

การประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง
-เข้าเรียนสายนิดหน่อยคะ แต่รู้สึกแปลกๆและตกใจ เปิดห้องมาเจอเพื่อเซคอื่น วันนี้ครูให้ทำกิจกรรมอีกแล้วตลกดีคะ วันนี้เรียนสนุกนะคะ วันนี้ตั้งใจเรียนคะ แต่งกายก็เรียบร้อย วันนี้ร้องเพลง รู้สึกว่าตัวเองร้องเพี้ยนนิดหน่อยคะ
ประเมินเพื่อน
-เซคอื่นเข้าเรียนอย่างพร้อมเพรียงมา มีมาสายคนหนึ่ง แต่เพื่อนก็ตั้งใจเรียนคะ รู้สึกว่าเพื่อนๆสนุกสนาน  เพื่อนอีกเซคพูดเก่งมาก และเพื่อนๆตั้งใจทำกิจกรรมบำบัดได้เป็นอย่างดีคะ
ประเมินครูผู้สอน
-อาจารย์สอนสนุกดีคะ มีกิจกรรมมาให้ทำตลอด ทั้งกิจกรรมก่อนเรียน กิจกรรมหลังเรียน และกิจกรรมบำบัด แต่ให้เด็กมาเรียนรวมกันเยอะ หนูว่าไม่ค่อยดีเท่าไหร่คะ เพื่อนบางคนไม่ตั้งใจเรียน พูดกัน เพื่อนที่ตั้งใจเรียนก็ไม่มีสมาธิ และเวลาสอนเด็กเยอะ ไม่ค่อยสนใจเด็กบางคน เหมือนดูแลได้ไม่ทั่วถึงคะ