วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558




บันทึกอนุทินครั้งที่ 4


วัน อังคารที่ 27 เดือน มกราคม พ.ศ. 2558


วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย


ครูผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิน

ความรู้ที่ได้รับ

บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

ครูไม่ควรวินิจฉัย

                   การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง

                   จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้

ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก

                   เกิดผลเสียมากกว่าผลดี

                   ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป

                   เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ

                   พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา

                   พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว

                   ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ

                   ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้

                   ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา

ครูทำอะไรบ้าง

                   ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ

                   ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย

                   สังเกตเด็กอย่างมีระบบ

                   จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

สังเกตอย่างมีระบบ

                   ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู

                   ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า

                   ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา

การตรวจสอบ

                   จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร

                   เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น

                   บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

ข้อควรระวังในการปฏิบัติ

                   ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้

                   ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้

                   พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป

การบันทึกการสังเกต

                   การนับอย่างง่ายๆ

                   การบันทึกต่อเนื่อง

                   การบันทึกไม่ต่อเนื่อง

การบันทึกไม่ต่อเนื่อง

                   บันทึกลงบัตรเล็กๆ

                   เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง

การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป

                   ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง

                   พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ

การตัดสินใจ

                   ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง

                   พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

-ครูไม่ควรวินิฉัยเด็ก

-ครูไม่ควรบอกผู้ปกครองเด็ก ว่าตัวเด็กเป็นโรคอะไร

-ครูไม่ควรบอกข้อด้อยขอเด็ก ให้บอกข้อดี แล้วแทรกข้อด้อยออกไป

-ครูมองเด็กเป็นภาพรวม เห็นทุกอย่าง ทั้งด้านดี แลไม่ดี

-ครูควรแก้ไขปัญหาเด็กให้ตรงจุดและเป็นปัญหาหลัก ตามลำดับความสำคัญ

-เปรียบเทียบเด็กพิเศษกับเพื่อนเสมอว่าต่างกันขนาดไหน และเทียบกับผู้ใหญ่ด้วย

-ครูจะต้องลำดับความสำคัญให้เป็น
                                                                               เพลง
                                                 

กิจกรรมวาดภาพเหมือน



การประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง

-เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย วันนี้ไม่ค่อยตั้งใจเรียนสักเท่าไหร่ แต่ก็อ่านเนื้อหาและฟังอธิบายทีหลังเริ่มเข้าใจแล้ว  มีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของครูมากขึ้น วันนี้ได้วาดภาพเหมือนดอกทานตะวันด้วย ตั้งใจวาดมากเลยนะคะ แต่งกลอนแทนความร้สึกด้วยคะ หวังว่าคนที่ได้อ่านคงชอบ  และวันนี้ครูสอนร้องเพลง และให้ร้องที่ละกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน พอมาถึงกลุ่มของดิฉัน ครูชมว่าร้องเพราะ ดีใจมาก และได้เป็นตัวแทนห้องมาร้องเพลงให้เพื่อนฟัง

ประเมินเพื่อน

-เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่กายสุภาพเรียบร้อย วันนี้เห็นเพื่อนตั้งใจวาดภาพเหมือนกัน ขณะทำกิจกรรมหรือเรียนเพื่อนบางคนก็นั่งคุยกันด้วย แต่ก็ไม่เสียการเรียนนะคะ พอยกขึ้นโชว์ แต่ละคนวาดสวยมาก และบรรยายภาพออกมาได้ดี บางคนแต่กลอน บางคนบรรยายตามที่เห็น และวันนี้ครูก็พาร้องเพลงโดยร้องเป็นกลุ่ม กลุ่มไหนสามัคคีก็ร้องได้ดี

ประเมินครูผู้สอน

-เข้าสอนตรงต่อเวลาดีมาเสมอ วันนี้ครูใส่เสื้อสีชมพูชอบมากคะ สดใสดี ครูสอนนักเรียนได้ดี สอนด้วยการยกตัวอย่างประกอบ  และนอกจาการเรียนการสอนจากเนื้อหาแล้ว ครูยังให้นักเรียนวาดภาพเหมือนดอกทานตะวัน ขณะที่นักเรียนวาดภาพ ครูก็เดินดูนักเรียนทุกคนด้วย ดูไปยิ้มไป พอครูเดินมากลุ่มของดิฉัน มักมีของตก ครูก็หัวเราะ และวันนี้ครูก็สอนร้องเพลงด้วย ครูร้องเพลงก็เพราะ นิสัยก็ดี

วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558




บันทึกอนุทินครั้งที่    3

วัน อังคารที่ 20  เดือน มกราคม พ.ศ. 2558

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

ครูผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิน

 

ความรู้ที่ได้รับ

รูปแบบการจัดการศึกษา

-การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)

-การศึกษาพิเศษ (Special Education)

-การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)

-การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)


การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

-เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
 

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)

-การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป

-มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน

-ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน

-ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน

การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)

-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา

-เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ

-เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้


การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)

-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน

-เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ

-มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

-เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน


ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)

-การศึกษาสำหรับทุกคน

-รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา

-จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
 

Wilson , 2007

-การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก

-การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน

-กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้

-เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง

"Inclusive Education is Education for all,
It involves receiving people
at the beginning of their education,
with provision of additional services
needed by each individual"

การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการศึกษาสำหรับทุกคน เริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็ก แต่ละคนย่อมมีความต้องการที่แตกต่างกันต้องจัดการศึกษาที่เหมาะสม
 

สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม

-เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล

-เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา

-เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน(Education for All)

-การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

-เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก

-เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ รวมกันที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน

-ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก


ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

-ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้

-สอนได้

-เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

-ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษจะต้องคอยให้ความช่วยเหลือเด็กด้วย

-เด็กเรียนร่วมบางเวลามีอาการค่อนข้างหนัก ส่วนมากเรียนในช่วงศิลปะ เคลื่อนไหว หรือดนตรีและจังหวะ

-เด็กเรียนร่วมเต็มเวลา จะได้ทำกิจกรรมเหมือนกับเด็กปกติทุกอย่าง

-ถ้ามีเด็กพิเศษอยู่ในห้องครูต้องบอกกับเด็กปกติในห้อง เพื่อให้เด็กยอมรับเพื่อน

-เด็กเรียนรวม ก็คือเรียนตั้งแต่เปิดเทอม และปิดเทอมพร้อมกัน สถานะเหมือนนักเรียนปกติ

-ชุดกิจกรรมที่ใช้สอนเด็ก ต้องไม่ยาก หรือไม่ง่ายจนเกินไป


การประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่กายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและฟังเวลาที่ครูผู้สอนอธิบาย และมีข้อผิดพลาดในบางครั้ง คือตอนทำข้อสอบ ในห้องเรียน มีความเข้าใจผิดเล็กน้อยระหว่างเรียนร่วมและเรียนรวม แต่ก็ตั้งใจทำข้อสอบโดยที่ไม่ได้มองเพื่อนข้างและไม่ได้ศึกษาใคร และอีกอย่างรีบไปทำธุระ  ต่อไปจะรอบคอบกว่านี้

ประเมินเพื่อน

เข้าเรียนตรงต่อเวลา บางคนมาสายบ้างอยากให้ปรับเปลี่ยนตนเองบ้างนะคะ มาเรียนให้เร็วกว่านี้ และมีความตั้งใจฟังและเรียนเป็นอย่างดี

ประเมินครูผู้สอน

มาสอนตรงต่อเวลา มีความรักและเมตตาต่อนักศึกษา ช่วยนักศึกษาในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ช่วยให้คำแนะนำไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาในวิชาที่เรียน แม้กระทั้งปัญหาต่างๆที่นักเรียนประสบอยู่ มีการทบทวนการสอนในคาบเรียนที่แล้ว คือร้องเพลง เพื่อฝึกให้นักศึกษาร้องเพลงให้ตรงจังหวะ  ต้องขอบพระคุณครูสอนเป็นอย่างยิ่งคะ