วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558




บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
วัน อังคารที่ 21 เดือน เมษายน  พ.ศ. 2558
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิน
ความรู้ที่ได้รับ

โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล
(Individualized Education Program)

แผนIEP
-แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น /ช่วยกันร่างหลายคน มีการตั้งชมรมขึ้นมา
                               -ครู
                             -การศึกษาพิเศษ
                              -ผู้อำนวยการ
                              -ประชุมผู้ปกครอง
-เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและ-ความสามารถของเขา
-ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
-โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP
-คัดแยกเด็กพิเศษ
                                -ต้องเห็นพฤติกรรมเด็กก่อน
                                -เห็นบริบทก่อน ใกล้ชิดเด็ก
-ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
-ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
-เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
-แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย
-ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
-ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
-การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
-เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น

-ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
-วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก
-ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน                                                      
-ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
-ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
-ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู
-เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
-เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
-ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
-เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
-ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
-ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
-ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
-เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล


1.การรวบรวมข้อมูล
-รายงานทางการแพทย์
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ
-บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
 2.การจัดทำแผน
-ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
                                -พ่อแม่
                                -ครู
                                -ครูการศึกษาพิเศษ
                                -ผู้บริหาร
                                -ครูที่สอนเสริม
-กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
-กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
-จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดจุดมุ่งหมาย
-ระยะยาว
-ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว
-กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง /ครอบคลุมทุกสิ่งแต่ต้องกำหนดเป้าหมายชัดเจน
-น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
-น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
-น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้

จุดมุ่งหมายระยะสั้น
-ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก เช่น ด้านใดด้านหนึ่ง
-เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
-จะสอนใคร
-พฤติกรรมอะไร
-เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
-พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
ตัวอย่าง
ใคร                                                         อรุณ
อะไร                                      กระโดดขาเดียวได้                            
เมื่อไหร่ / ที่ไหน                 กิจกรรมกลางแจ้ง
ดีขนาดไหน                          กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง ในเวลา 30 วินาที
                                                                                
ใคร                                                         ธนภรณ์
อะไร                                      นั่งเงียบๆโดยไม่พูดคุย                      
เมื่อไหร่ / ที่ไหน                 ระหว่างครูเล่านิทาน
ดีขนาดไหน                          ช่วงเวลาการเล่านิทาน 10 - 15 นาที เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน
                                                                                
3.การใช้แผน
-เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
-นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
-แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
-จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
-ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
1.ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
2.ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3.อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

4.การประเมินผล
-โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
-ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**

การนำความรู้ไปใช้
สามารถเข้าใจแผน IEP มากขึ้นและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้อย่างเหมาะสม และเข้าใจการเขียนแผนระยะสั้น และแผนระยะยาว

การประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง
     วันนี้เข้าเรียนสาย  แต่ให้อาจารย์สอนใหม่ เริ่มเข้าใจแผนมากขึ้น
ประเมินเพื่อน
     เพื่อนๆตั้งใจทำแผน IEP ที่ครูสอนอย่างตั้งใจ
ประเมินครูผู้สอน

   ให้คำแนะนำในการทำแผน IEP ให้นักศึกษาทุกคนได้เป็นอย่างดี ทั้งแนะนำการยกตัวอย่างต่างๆขอขอบคุณคะ

วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2558




บันทึกอนุทินครั้งที่ 13
วัน อังคารที่ 7 เดือน เมษายน  พ.ศ. 2558
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิน
ความรู้ที่ได้รับ
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย
          การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
          มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
          เด็กรู้สึกว่า ฉันทำได้
          พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
          อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
          ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
          จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
          เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
          เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
          คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
การรับรู้ การเคลื่อนไหว
          ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น
          ตอบสนองอย่างเหมาะสม
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
          การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
          ต่อบล็อก
          ศิลปะ
          มุมบ้าน
          ช่วยเหลือตนเอง
ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
          ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
          รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก
ความจำ
          จากการสนทนา
          เมื่อเช้าหนูทานอะไร
          แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
          จำตัวละครในนิทาน
          จำชื่อครู เพื่อน
          เล่นเกมทายของที่หายไป
ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
          จัดกลุ่มเด็ก
          เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
          ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
          ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
          ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
          ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
          บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
          รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
          มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
          เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
          พูดในทางที่ดี
          จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
          ทำบทเรียนให้สนุก

**วันนี้อาจารย์เฉยแนวข้อสอบด้วย คิดว่าคงผ่านนะคะ รอลุ้นอยู่นะคะ……**

 การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-ช่วงความสนใจของเด็กพิเศษ ประมาณ 2-3 นาที ครูต้องฝึกให้เด็กมีสมาธิ เช่น นั่งฟังนิทานจนจบ หรือ สอนศิลปะต้องทำให้เด็กนั่งดูจนจบ ฝึกเด็กให้มีสมาธิ 10 นาที
-วันแรกของเทอมควรเป็นกิจกรรมสั้นๆ แล้วค่อยจัดกิจกรรมยาวๆในช่วงหลัง
-ควรจับคู่เด็กที่สามารถทำกิจกรรมกับเด็กพิเศษได้ เมื่อให้เด็กทำกิจกรรมอะไร ควรเรียกชื่อเพื่อนอีก 1 คนมาด้วย  แล้วเด็กพิเศษจะเลียนแบบและทำตาม
-การนำอุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคยและใช้บ่อย มาจัดกิจกรรม เด็กจะคุ้นเคยและมั่นใจในการทำกิจกรรม

การประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนอง
วันนี้ไปช่วยครูยกของด้วย  เข้าเรียนตรงต่อเวลาแต่งกายสุภาพเรียบร้อย เป็นบทบาทสมมติให้เพื่อนได้ศึกษาอีกตามเคย แต่ชอบนะเวลาทำอะไรแปลกๆสนุกดี  วันนี้ตั้งใจเรียนคะ ที่ตั้งใจฟังครูเฉลยข้อสอบ คือ บอกได้เลยว่าที่ครูตรวจ กับที่ตอบไม่ตรงกันเลยคะ แต่ก็ดีนะคะที่ครูมาเฉลยให้ฟัง จะได้รูว่าเราพลาดตรงไหน
ประเมินเพื่อน
เข้าเรียนตรงต่อเวลา และรู้สึกว่าวันนี้เพื่อนจะมีความสุขกับการได้ของฟรี ของฟรีที่ว่าก็คือสีคะ วันนี้เพื่อนตั้งใจเรียนนะคะและตั้งใจฟังเมื่อครูอธิบาย
ประเมินครูผู้สอน

วันนี้ครูมาพร้อมกับสีที่จะนำมาแจกนักศึกษา วันนี้ครูใส่เสื้อสีม่วงสวยดีคะ แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเสมอ วันนี้ครูสอนทักษะที่ส่งเสริมเด็กพิเศษเรื่องที่ 4 และเฉลยข้อสอบด้วย ครูให้คำแนะนำได้เป็นอย่างดี ขอบคุณมากนะคะ ข้อมูลหรือความรู้ จะเป็นประโยชน์ในวันหน้าคะ