วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558



บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
วัน อังคารที่ 17 เดือน กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิน

ความรู้ที่ได้รับ

                สุขสันต์วันเกิดนะคะ ขอให้อาจารย์มีความสุข สุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บไม่ป่วย ปรารถนาสิ่งใดขอให้ได้ดังปรารถนาทุกประการนะคะ รัก อ.เบียร์นะคะ




วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558



บันทึกอนุทินครั้งที่ 5
วัน อังคารที่ 10 เดือน กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิน

ความรู้ที่ได้รับ


ทักษะของครูและทัศนคติ

การฝึกเพิ่มเติม                              
-       อบรมระยะสั้น , สัมมนา                                                                                         
-       สื่อต่างๆ

การเข้าใจภาวะปกติ

-        เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
-        ครูต้องเรียนรู้ , มีปฎิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
-         รู้จักเด็กแต่ละคน
-         มองเด็กให้เป็น เด็ก”   ถึงเด็กคนนั้นจะเป็นเด็กพิเศษก็ตามคนเป็นครูก็ต้องมองเด็กคนนั้นเป็นเด็กปกติทั่วไปเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมในการถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็ก

การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า

-          การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย

ความพร้อมของเด็ก

-         วุฒิภาวะ
-           แรงจูงใจ
-          โอกาส(เด็กปกติมีโอกาสสูงกว่าเด็กพิเศษ)

การสอนโดยบังเอิญ

                 คือ  การที่เด็กเข้ามาถามในสิ่งที่เขาสงสัย  สิ่งที่เขาต้องการอยากรู้ และครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้ และครูควรจะทำให้การเข้ามาถามเรื่องต่างเป็นเรื่งสนุกทำให้เด็กกล้าที่จะเข้ามาปรึกษา

อุปกรณ์

-         มีลักษณะง่ายๆ
-        ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
-         เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
-         เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ

ตารางประจำวัน

คือ   ควรเป็นตารงที่มีความแน่นอนมั่นคงจะทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัย


ทัศนคติของครู
                                                                                                                            
ความยืดหยุ่น

-        การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
-         ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
-        ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน


เทคนิคการให้แรงเสริม

แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่

-           ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
-           มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
-           หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป

หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย

-           ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
-           ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์
-            ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์


ขั้นตอนการให้แรงเสริม
                                                                                                                     
-         สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
-        วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
-         สอนจากง่ายไปยาก                                                                                                    
-        ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
-        ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
-       ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
-        ทีละขั้น ไม่เร่งรัด ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น
-        ไม่ดุหรือตี

การกำหนดเวลา

-            จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม

ความต่อเนื่อง

-          พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆ หลายๆอย่างรวมกัน
-          เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน
-          สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง


การลดหรือหยุดแรงเสริม

-         ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
-         ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
-         เอาอุปกรณ์หรือขอเล่นออกไปจากเด็ก
-         เอาเด็กออกจากการเล่น

การนำความรู้ไปใช้

-พยายามมองเด็กให้เท่าเทียมกัน
-การฝึกเพิ่มเติม เป็นแนวทางช่วยเหลือครู ควรหาข้อมูลเพื่อเป็นความรู้เยอะๆ และจะต้องพูดให้เก่ง
-เด็กแต่งคนคล้ายกัน แต่มีบางสิ่งที่แตกต่างกัน
-ครูอนุบาล จะต้องจำชื่อเด็กให้ได้ทุกคน ทั้งชื่อจริงและชื่อเล่น
-การสอนเด็กโดยบังเอิญ เมื่อเด็กเดินมาถาม ครูบอกคำตอบเด็ก แล้วให้เด็กทวนคำตอบ
-ของเล่นเด็กต้องไม่แบ่งแยกเพศ
-ควรรู้จักการฟังหูไว้หู และฟังบุคคลอื่นบ้าง
-ตั้งจุดประสงค์ประสงค์ในการเสริแรง
-การช่วยเหลือเด็ก คือการเข้าไปควบคุม เวลาที่น้องทำกิจกรรม
-การกำหนดเวลา ควรใช้เฉพาะเวลาที่เด็กแสดงพฤติกรรม

                                                                                            กิจกรรมก่อนเรียนวันนี้

                      กิจกรรมนี้ สอนให้รู้ว่า ควรบันทึกพฤติกรรมของเด็กในทันที เพราะถ้าไม่รีบบันทึกเราอาจจะลืมได้ และควรมีกระดาษเล็กติดตัวเอาไว้เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรม จะได้บันทึกทัน

  
เพลงวันนี้

เพลง  ฝึกกายบริหาร

ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว

เพลง  ผลไม้

ส้มโอ  แตงโม   แตงไทย
ลิ้นจี่     ลำไย  องุ่น    พุทรา
เงาะ  ฟรั่ง    มังคุด
กล้วย    ละมุด   หน่อยหน่า
ขนุน   มะม่วง   นานาพันธุ์

เพลง กินผักกัน

กินผักกันเถอะเรา
บวบ    ถั่วฝักยาว  ผักกาดขาว   แตงกวา
คะน้า   กวางตุ้ง    ผักบุ้ง   โหระพา
มะเขือเทศสีดา  ฟักทอง  กะหล่ำปลี

เพลง  ดอกไม้

ดอกไม้ต่างพันธุ์     สวยงามสดใส
เหลือง  แดง   ม่วงมี   แสด   ขาว   ชมพู

เพลง จ้ำจี้ดอกไม้

จ้ำจี้ดอกไม้  ดาวเรือง  หงอนไก่
จำปี  จำปา  มะลิ  พิกุล
กุหลาบ  ชบา  บานชื่น  กระดังงา
เข็ม  แก้ว  ลัดดา   เฟื่องฟ้า  ราตรี

ผู้แต่ง  อ.ศรีนวล    รัตนสุวรรณ
                                                         เรียบเรียง  อ.ตฤณ     แจ่มถิน


การประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง
-เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย และวันนี้ ครูเอาถุงมือมาแจกกับนักศึกษาทุกคน เป็นถุงมือสีขาว แล้วแจกกระดาษกับนักศึกษาคนละ 1 แผ่น แล้วสวมใส่มือข้างที่ไม่ถนัด ครูให้วาดรูปมือข้างที่สวมถุงมือ เมื่อวาดเสร็จถอดออกมาดู ว่าคล้ายกันไหม แล้วครูก็สอน ความรู้ที่สอนมานั้นเป็นสิงจำเป็นต่อนักศึกษาครู เป็นทักษะ เป็นแนวทางของความเป็นครู และร่วมร้องเพลงกับเพื่อนและครูเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
-เข้าเรียนตรงต่อเวลา  มีบางคนมาสายแต่เป็นส่วนน้อย แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจทำกิจกรรมวาดมือที่ไม่ถนัด แต่ละคนก็วาดคล้ายมือตัวเองมาก มีรอยย่น ลายนิ้วมือ  และตั้งใจเรียนและตอบคำถามที่ครูถามหลังเรียนจบได้เป็นอย่างดี และร่วมกันร้องเพลง มีเพี้ยนบ้างเล็กน้อย

ประเมินครูผู้สอน

-วันนี้ครูมีข่าวสารเกี่ยวกับการแต่งกายมาฝากนักศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการปรับตัวในเทอมถัดไป วันนี้ครูให้วาดรูปมือ วาดเสร็จครูอธิบายให้ฟัง ทำไมถึงให้วาดภาพมือที่ไม่ถนัดแล้วสวมถุงมือ ครูสอนทักษะความเป็นครูให้กับนักศึกษา สอนในเรื่องทัศนคติที่มีต่อเด็กและแนวทางการสอนและให้แรงเสริมเด็กอีกด้วย